วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประวัติการปกครองของไทย


การปกครองสมัยสุโขทัย
         
การเมืองการปกครองสมัยสุโขทัย
                 
การปกครองสมัยสุโขทัยเป็นการปกครองระบอบราชาธิปไตย  ที่พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจเด็ดขาด  ในตอนต้นของการตั้งอาณาจักรสุโขทัยเป็นการปกครองแบบบิดาปกครองบุตร  แต่ตอนปลายสมัยเป็นการปกครองแบบธรรมราชา  และมีการสร้างความสัมพันธ์กับอาณาจักรอื่น  เพื่อพัฒนาอาณาจักรให้เป็นปึกแผ่นเจริญรุ่งเรือง
                อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งยังมีอาณาเขตไม่กว้างขวาง  จำนวนพลเมืองยังไม่มาก  และอยู่ในระหว่างก่อร่างสร้างตัว  การปกครองในระยะเริ่มแรกจึงมีลักษณะเป็นระบบครอบครัว  ผู้นำของอาณาจักรมีฐานะเป็นพ่อขุน  มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชน  ผู้ปกครองเปรียบเสมือนบิดาของประชาชนทั้งปวง  ต่อมาภายหลังรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชสถานการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป  จึงเริ่มใช้วิธีการปกครองที่เป็นแบบแผนมากขึ้น  ความสัมพันธ์ของผู้นำอาณาจักรกับประชาชนแตกกต่างไปจากเดิม  มีความพยายามเพิ่มพูนพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ให้สูงขึ้น  ทรงมีฐานะเป็น ธรรมราชา  และทรงให้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ประชาชนเลื่อมใสศรัทธา  มาเป็นหลฃักในการปกครอง

ลักษณะการปกครอง
                ลักษณะการาปกครองสมัยสุโขทัยแบ่งได้  2  ระยะ  คือ  การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น  เริ่มจากรัชสมัยพ่อขุนศรึอินทราทิตย์ไปถึงสิ้นรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  กับการปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย  นับจากรัชสมัยพระยาเลอไท  ไปจนกระทั่งอาณาจักรสุโขทัยหมดอำนาจลง
การปกครองราชธานีและหัวเมืองต่างๆ
                เมืองต่างๆ ในอาณาจักรสุโขทัย  แบ่งออกเป็น  4  ชั้น  แต่ละชั้นพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจปกครองดังนี้
1.               เมืองหลวง หรือราชธานี       อาณาจักรสุโขทัยมีกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี  เมืองหลวงหรือราชธานีเป็นที่ประทับของ
พระมหากษัตริย์  พระราชวังและวัดจำนวนมากตั้งอยู่ในและนอกกำแพงเมือง  ราชธานีเป็นศูนย์กลางทางการปกครอง  การศาสนา  วัฒนธรรม  ศิลปะและขนบประเพณีทั้งปวง  พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองเอง
2.               เมืองลูกหลวง      เมืองลูกหลวงเป็นเมืองหน้าด่าน  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  หัวเมืองชั้นใน  ตั้งอยู่รอบราชธานีทั้ง  4  ทิศ 
ห่างจากเมืองหลวงมีระยะทางเดินเท้าประมาณ  2  วัน  เมืองลูกหลวง  มีดังนี้
                                ทิศเหนือ            ได้แก่    เมืองศรีสัชนาลัย  (สวรรคโลก)
                                ทิศตะวันออก    ได้แก่    เมืองสองแคว  (พิษณุโลก)
                                ทิศใต้                 ได้แก่    เมืองสระหลวง  (พิจิตรเก่า)
                                ทิศตะวันตก       ได้แก่    เมืองนครชุม  (ปากคลองสวนหมาก กำแพงเพชร)
                เมืองลูกหลวงเป็นเมืองที่เจ้านายเชื้อพระวงศ์ได้รั้บการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์เป็นผู้ปกครองส่วนเมืองศรีสัชนาลัยเป็นเมืองลูกหลวงที่มีฐานะเป็นเมืองอุปราช  ตลอดสมัยสุโขทัย
3.               เมืองพระยามหานคร     เมืองพระยามหานครเป็นหัวเมืองชั้นนอก  ห่างจากราชธานีออกไป  มากกว่าเมืองลูกหลวง 
พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งผู้เหมาะสมและมีความสามารถไปปกครองดูแล  เมืองเหล่านี้ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์  มีวิธีการปกครองลักษณะเดียวกับเมืองชั้นใน  เมืองพระยามหานครในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมีหลายเมือง  เช่น  เมืองพระบาง (นครสวรรค์)   เมืองเชียงทอง  (ตาก)   เมืองบางพาน (กำแพงเพชร)   เมืองบางฉลัง  (กำแพงเพชร)  เป็นต้น
4.               เมืองประเทศราช     เมืองประเทศราช ได้แก่   เมืองทีอยู่นอกอาณาจักร  ชาวเมืองเป็นคนต่างชาติ  พระมหากษัตริย์
สุโขทัยทรงดำเนินนโยบายปกครอง   ให้ชาวพื้นเมืองเป็นกษัตริย์หรือเป็นเจ้าเมืองปกครองกันแอง   โดยไม่เข้าไปยุ่งเกียวกับการปกครองภายใน  ยกเว้นกรณีที่จำเป็นเท่านั้น  ยามปกติเมืองประเทศราชต้องส่งเครื่องราชบรรณาการ (ส่วย)  มาถวายต่อพระมหากษัตริย์สุโขทัยทุกปี   ยามสงครามจะต้องส่งกองทัพและเสบียงอาหารไปช่วย  สมัยพ่อขุนรามคำแหง  มีเมืองประทเศราชหลายเมือง  คือ
                                ทิศเหนือ                           ได้แก่     เมืองแพร่    เมืองน่าน
                                ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ   ได้แก่     เมืองเช่า  (หลวงพระบาง)    เมืองเวียงจันทร์
                                ทิศตะวันตก                      ได้แก่     เมืองทวาย  เมืองเมาะตะมะ   เมืองหงสาวดี
                                ทิศใต้                                 ได้แก่     เมืองนครศรีธรรมราช    เมืองมะละกา    เมืองยะโฮร์
                หากวิเคราะห์วิธีแบ่งเขตการปกครองในสมัยพ่อขุนรามคำแหง   โดยจัดให้มีเมืองลูกหลวงวงล้อมกรุงสุโขทัยวอันเป็นเมืองราชธานี  จะมีลักษณะเป็นเสมือนกำแพงชั้นที่ 1    ส่วนเมืองพระยามหานครเป็นเสมือนกำแพงชั้นที่ 2    และเมืองประเทศราชเป็นเสมือนกำแพงชั้นที่ 3





การปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยา

การปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยาลักษณะการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นเมื่อสิ้นสุดสมัยสุโขทัย การปกครองของประเทศก็เปลี่ยนไปจากการปกครองพ่อปกครองลูก มาเป็นระบบสมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งไทยได้รับอิทธิพลมาจากขอม และขอมก็ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียอีกต่อหนึ่ง กษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราช นั้น ทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาดและเต็มที่ เมื่อมีพระบรมราชโองการใดๆ ใครจะวิจารณ์หรือโต้แย้งไม่ได้ เพราะฐานะของกษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเปรียบเสมือนสมมติเทพ ไม่ใช่อยู่ในฐานะของพ่อดังเช่นสมัยสุโขทัย การปกครองในระบบสมบูรณาญาสิทธิราช ถือว่า กษัตริย์ทรงเป็นเจ้าของทุกสิ่งทุกอย่าง ในพระราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดิน หรือแม้กระทั่งชีวิต พระราชอำนาจของกษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นมีมากมาย แต่ก็มีขอบเขตภายใต้หลักธรรมของพระพุทธศาสนา 

ระบบการปกรองของกรุงศรีอยุธยาตอน ต้น
ระบบการปกครองของกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ได้รับแบบอย่างมาจากสุโขทัย และจากขอมนำมาปรับปรุงใช้ ลักษณะการปกครองสมัยนั้นแบ่งเป็น

1. การปกครองส่วนกลาง
คือการปกครองภายในราชธานี ซึ่งได้รับอิทธิพลจากขอมแบบแผนที่ได้รับมาเรียกว่า “จตุสดมภ์” ซึ่งประกอบด้วย

1.1 เมืองหรือเวียง
มีขุนเมือง เป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่ปกครองดูแลท้องที่และราษฎร ดูแลความสงบเรียบร้อย ปราบปรามโจรผู้ร้าย และลงโทษผู้กระทำความผิด

1.2 วัง
มีขุนวังเป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่เกี่ยวกับงานในราชสำนักและพระราชพิธีต่างๆ พิจารณาพิพากษาคดีต่าง ของราษฎรด้วย

1.3 คลัง
มีขุนคลังเป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่เก็บและรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดินอันได้จากอากร นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการต่างประเทศอีกด้วย

1.4 นา 
มีขุนนา เป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่ดูแลการทำไร่นา รักษาเสบียงอาหารสำหรับทหาร ออกสิทธิที่นา และมีหน้าที่เก็บหางข้าวขึ้นฉางหลวง คือใครทำนาได้ก็ต้องแลกเอาเข้ามาส่งฉางหลวง

2. การปกครองส่วนภูมิภาค
คือการปกครองพระราชอาณาเขต กรุงศรีอยุธยาได้แบบแผนมาจากครั้งกรุงสุโขทัย โดยการแบ่งหัวเมืองออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

2.1 หัวเมืองชั้นใน
มีกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีเมืองป้อมปราการด่านชั้นในสำหรับป้องกันราชธานีทั้ง 4 ทิศ เรียกว่า เมืองลูกหลวง ซึ่งอยู่ห่างจากราชธานี เป็นระยะทางเดิน 2 วันทิศเหนือ คือ เมืองลพบุรีทิศใต้ คือ เมืองพระประแดงทิศตะวันออก คือ เมืองนครนายกทิศตะวันตก คือ เมืองสุพรรณบุรีนอกจากนั้น ยังมีหัวเมืองชั้นในตามรายทางที่อยู่ใกล้ๆ กับเมืองลูกหลวง เช่น เมืองปราจีน เมืองพระรถ(เมืองพนัสนิคม) เมืองชลบุรี เมืองเพชรบุรี เมืองราชบุรี เป็นต้น และถ้าเมืองใดเป็นเมืองสำคัญก็จะส่งเจ้านายจากราชวงศ์ออกไปครอง

2.2 เมืองพระยามหานคร หรือหัวเมืองชั้นนอก
คือ เมืองใหญ่ที่อยู่ห่างจากหัวเมืองชั้นในออกไปทิศตะวันออก คือ เมืองโคราชบุรี(นครราชสีมา) เมืองจันทบุรีทิศใต้ คือ เมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง เมืองสงขลา และเมืองถลางทิศตะวันตก คือ เมืองตะนาวศรี เมืองทะวาย เมืองเชียงกราน

2.3 เมืองประเทศราช หรือเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา
เมื่อครั้งรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) สันนิษฐานว่า คงจะมีแต่เมืองมะละกากับเมืองยะโฮร์ทางเแหลมมลายูเท่านั้น ส่วนกัมพูชานั้นต้องปราบกันอีกหลายครั้ง จึงจะได้ไว้ในครอบครอง และในระยะหลังต่อมาสุโขทัยก็ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาด้วยเมืองประเทศราช มีเจ้านายของตนปกครองตามจารีตประเพณีของตน แต่ต้องกราบบังคมทูลให้กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาแต่งตั้ง
การปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง 1991 - 2231การปกครองเริ่มตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นต้นมา หลังจากที่ได้ผนวกเอาอาณาจักรสุโขทัยมาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา โดยมีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ
1. จัดการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง
2. แยกกิจการฝ่ายพลเรือนกับฝ่ายทหารออกจากกัน
การปกครองส่วนกลาง
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรดฯให้มีตำแหน่งสมุหกลาโหมรับผิดชอบด้านการทหาร นอกจากนี้ยังได้ทรงตั้งหน่วยงานเพิ่มขึ้นมา อีก 2 กรม คือ
กรมมหาดไทย 
มีพระยาจักรีศรีองครักษ์เป็นสมุหนายก มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการพลเรือนทั่วประเทศ
กรมกลาโหม มีพระยามหาเสนาเป็นสมุหพระกลาโหม มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการทหารทั่วประเทศ
นอกจากนี้ใน 4 กรมจตุสดมภ์ที่มีอยู่แล้ว ทรงให้มีการปรับปรุงเสียใหม่ โดยตั้งเสนาบดีขึ้นมาควบคุมและรับผิดชอบในแต่ละกรมคือ
กรมเมือง (เวียง) มีพระนครบาลเป็นเสนาบดี
กรมวัง มีพระธรรมาธิกรณ์เป็นเสนาบดี
กรมคลัง มีพระโกษาธิบดีเป็นเสนาบดี
กรมนา มีพระเกษตราธิการเป็นเสนาบดี
การปกครองส่วนภูมิภาคสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงยกเลิกการปกครองแบบเดิมทั้งหมด แล้วจัดระบบใหม่ดังนี้
1 .) หัวเมืองชั้นใน
 ยกเลิกเมืองหน้าด่านแล้วเปลี่ยนเป็นเมืองชั้นใน มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ผู้ปกครองเมืองเหล่านี้เรียกว่า ผู้รั้ง พระมหากษัตริย์จะเป็นผู้แต่งตั้งขุนนางในกรุงศรีอยุธยา ทำหน้าที่ผู้รั้งเมือง ต้องรับคำสั่งจากในราชธานีไปปฏิบัติเท่านั้นไม่มีอำนาจในการปกครองโดยตรง
2) หัวเมืองชั้นนอก (เมืองพระยามหานคร) เป็นหัวเมืองที่อยู่ภายนอกราชธานีออกไป จัดเป็นหัวเมืองชั้นตรี โท เอก ตามขนาดและความสำคัญของหัวเมืองนั้น เมืองเหล่านี้มีฐานะเดียวกันกับหัวเมืองชั้นใน คือขึ้นอยู่ในการปกครองจากราชธานีเท่านั้น
3) หัวเมืองประเทศราช ยังให้มีการปกครองเหมือนเดิม มีแบบแผนขนบธรรมเนียมเป็นของตนเอง มีเจ้าเมืองเป็นคนในท้องถิ่นนั้น ส่วนกลางจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในด้านการปกครอง แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย
การปกครองส่วนท้องถิ่น แบ่งการปกครองเป็นหน่วยย่อย โดยแบ่งเป็น
1) บ้าน หรือหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้าน มีผู้ว่าราชการเมืองเป็นหัวหน้า จากการเลือกตั้งจากหลายบ้าน
2) ตำบล เกิดจากหลายๆ หมู่บ้านรวมกันมีกำนันเป็นหัวหน้ามีบรรดาศักดิ์เป็น พัน
3) แขวง เกิดจากหลายๆ ตำบลรวมกัน มีหมื่นแขวงเป็นผู้ปกครอง
4) เมือง เกิดจากหลายๆ แขวงรวมกัน มีผู้รั้งหรือพระยามหานครเป็นผู้ปกครอง
ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้มีการปรับปรุงระเบียบการปกครองทางด้านการทหาร ได้แก่
1. การจัดทำสารบัญชี (หรือสารบาญชี) เพื่อให้ทราบว่ามีกำลังไพร่พลมากน้อยเพียงใด
2. สร้างตำราพิชัยสงคราม ซึ่งเป็นตำราที่ว่าด้วยการจัดทัพ การเดินทัพ การตั้งค่าย การจู่โจมและการตั้งรับ ส่วนหนึ่งของตำราได้มาจากทหารอาสาชาวโปรตุเกส
3. การทำพิธีทุกหัวเมือง ซักซ้อมความพร้อมเพรียงเพื่อสำรวจจำนวนไพร่พล (คล้ายกับพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณต่อธงชัยเฉลิมพลในปัจจุบัน) 

การปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย
สมัยอยุธยาตอนปลาย เริ่มในสมัยพระเพทราชา สมัยนี้ยึดการปกครองแบบที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปรับปรุงแต่ได้แบ่งแยกอำนาจสมุหกลาโหมและสมุหนายกเสียใหม่ คือ
สมุหกลาโหม
- ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งหมดทั้งที่เป็นฝ่ายทหารและพลเรือน
สมุหนายก
- ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมดที่เป็นฝ่ายทหารและพลเรือนรูปแบบการปกครอง
ของอยุธยาใช้เรื่อยมาจนถึงรัชกาลที่ 5 จึงได้มีการปฏิรูปการปกครองเสียใหม่ ได้แยกกิจการฝ่ายทหารและพลเรือนออกจากกัน แต่การกำหนดอำนาจบังคับบัญชาดูแลกิจการทั้งสองฝ่ายตามเขตพื้นที่ ซึ่งเป็นการถ่วงดุลอำนาจของขุนนางด้วยกัน เพื่อจะได้ไม่เป็นภัยต่อราชบัลลังก์และแบ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายต่างๆ ดังนี้
- หัวเมืองฝ่ายเหนือ ขึ้นตรงต่อสมุหนายก
- หัวเมืองฝ่ายใต้ ขึ้นตรงต่อสมุหพระกลาโหม
- หัวเมืองชายทะเลตะวันออก ขึ้นตรงต่อเสนาบดีกรมคลัง

การปกครองสมัยกรุงธนบุรี.
สมัยกรุงธนบุรี.
          การปกครองในสมัยกรุงธนบุรียังคงมีรูปแบบเหมือนกับสมัยอยุธยาตอนปลาย พอสรุปได้ดังนี้
          การปกครองส่วนกลาง หรือ การปกครองในราชธานี พระมหากษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดเปรียบเสมือนสมมุติเทพ มีเจ้าฟ้าอินทรพิทักษ์ดำรงดำแหน่งพระมหาอุปราช มีตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหารหรือสมุหพระกลาโหม มียศเป็นเจ้าพระยามหาเสนา และอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือนหรือสมุหนายก(มหาไทย) มียศเป็นเจ้าพระยาจักรี เป็นหัวหน้าบังคับบัญชาเสนาบดีจตุสดมภ์ 4 กรมได้แก่
          1. กรมเมือง (นครบาล) มีพระยายมราชเป็นผู้บังคับบัญชา ทำหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองภายในเขตราชธานี การบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎรและการปราบโจรผู้ร้าย
          2. กรมวัง (ธรรมาธิกรณ์)  มีพระยาธรรมาเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจการภายในราชสำนักและพิพากษาอรรถคดี
          3. กรมพระคลัง (โกษาธิบดี)  มีพระยาโกษาธดีเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับจ่ายเงินของแผ่นดิน และติดต่อ ทำการค้ากับต่างประเทศ 
          4. กรมนา (เกษตราธิการ) มีพระยาพลเทพเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับเรือกสวนไร่นาและเสบียงอาหารตลอดจน ดูแลที่นาหลวง เก็บภาษีค่านา เก็บข้าวขึ้นฉางหลวงและพิจารณาคดีความเกี่ยวกับเรื่องโค กระบือ และที่นา
การปกครองส่วนภูมิภาค หรือ การปกครองหัวเมือง

การปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็น หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก หัวเมืองประเทศราช

          หัวเมืองชั้นใน จัดเป็นเมืองระดับชั้นจัตวา มีขุนนางชั้นผู้น้อยเป็นผู้ดูแลเมือง ไม่มีเจ้าเมือง ผู้ปกครองเมืองเรียกว่า ผู้รั้ง หรือ จ่าเมือง อำนาจในการปกครองขึ้นอยู่กับเสนาบดีจัตุสดมภ์ หัวเมืองชั้นในสมัยกรุงธนบุรี ได้แก่ พระประแดง นนทบุรี สามโคก(ปทุมธานี)
          หัวเมืองชั้นนอก หรือเมืองพระยามหานคร เป็นเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานีออกไป กำหนดฐานะเป็นเมืองระดับชั้น เอก โท ตรี จัตวา ตามลำดับ หัวเมืองฝ่ายเหนือขึ้นอยู่กับอัครมหาเสนาบดีฝ่ายสมุหนายก ส่วนหัวเมืองฝ่ายใต้และหัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก ขึ้นอยู่กับกรมท่า(กรมพระคลัง) ถ้าเป็นเมืองชั้นเอก พระมหากษัตริย์ จะส่งขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ออกไปเป็นเจ้าเมือง ทำหน้าที่ดูแลต่างพระเนตรพระกรรณ

          หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นเอก ได้แก่ พิษณุโลก จันทบูรณ์
          หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นโท   ได้แก่ สวรรคโลก ระยอง เพชรบูรณ์
          หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นตรี   ได้แก่ พิจิตร นครสวรรค์
          หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นจัตวาได้แก่ ไชยบาดาล ชลบุรี

หัวเมืองประเทศราช

          เป็นเมืองต่างชาติต่างภาษาที่อยู่ห่างไกลออกไปติดชายแดนประเทศอื่น มีกษัตริย์ปกครอง แต่ต้องได้รับการแต่งตั้งจากกรุงธนบุรี ประเทศเหล่านั้น ประมุขของแต่ละประเทศจัดการปกครองกันเอง แต่ต้องส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการมาให้ตามที่กำหนด
          หัวเมืองประเทศราช ในสมัยกรุงธนบุรี ได้แก่ เชียงใหม่ (ล้านนาไทย) ลาว (หลวงพระบาง,เวียงจันทน์, จำปาศักดิ์) กัมพูุชา (เขมร) และนครศรีธรรมราช



การปกครองสมัยรัตนโกสินทร์

รูปแบบการปกครองของไทยแต่สมัยเดิมมามีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนักโดยเฉพาะในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ตลอดระยะเวลาเกือบ 500 ปี    มิได้การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการปกครองขนานใหญ่แต่อย่างใดจนถึงรัชสมัย
พระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์อันเป็นระยะที่ประเทศไทย  ได้มีการติดต่อกับต่างประเทศมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
วัฒนธรรมและอารยธรรมต่างๆได้หลั่งไหลเข้ามาสู่ประเทศไทยประกอบกับอิทธิพลในการแสวงหา   เมืองขึ้นของ
ชาติตะวันตกที่สำคัญ 2 ชาติ คืออังกฤษและฝรั่งเศสกำลังคุกคามเข้ามาใกล้ประเทศไทยประการสำคัญที่สุดก็คือ
พระอัจฉริยะของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงคาดการณ์สำคัญในอนาคตอย่างถูกต้อง   จึงได้
ดำเนินรัฐประศาสนโยบายนำประเทศไทยให้พ้นวิกฤตการณ์ จากการคุกคามทางการเมืองมาได้นำประเทศไทยสู่
ความก้าวหน้ายุคใหม่อันเป็นสำคัญที่เป็น รากฐานในการปกครองปัจจุบัน
การปฏิรูปการบริหาร (Administrativereform) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี
พ.ศ. 2435 นี้นับว่าเป็นการปฏิรูปการปกครองการบริหารที่สำคัญของชาติไทยและนำความเจริญรุ่งเรืองนานัป
มาสู่ประเทศชาติและปวงชาวไทย ดังจะกล่าวถึงมูลเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการปฏิรูปการ    การปกครองดังกล่าว
ต่อไป
    สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในสมัยแรกตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ยังคงอยู่
ในรูปแบบของเศรษฐกิจพอยังชีพ  กล่าวคือยังไม่มีการแบ่งงานกันทำแต่ละครอบครัวต้อง
ผลิตของที่จำเป็นทุกอย่างขึ้นมาใช้เอง   ที่ดินก็ยังว่างเปล่าอยู่มาก   ในขณะที่แรงงานเพื่อ
ประกอบการผลิตยังมีอยู่น้อย เพราะสภาพสังคมขณะนั้นแรงงานคนส่วนใหญ่ต้องอุทิศให้
กับ การเข้าเวรรับราชการและรับใช้มูลนายเวลาที่เหลือเพียงส่วนน้อยจึงเป็นเรื่องของการ
ทำมาหาเลี้ยงชีพและครอบครัว ผลผลิตที่ได้ส่วนหนึ่งจึงเป็นไปตามความต้องการของครัว
เรือนและอีกส่วนหนึ่งส่งเป็นส่วยให้กับทางราชการ การค้าภายในประเทศจึงมีน้อยเพราะ
ว่าทรัพยากรมีจำกัด   และความต้องการของแต่ละท้องถิ่นไม่แตกต่างกันการคมนาคมไม่
สะดวกจวบจนถึงสมัยรัชกาลที่ 3  การค้าภายในประเทศจึงเริ่มขยายตัวเพราะชาวจีนเข้า
มามีบทบาททางการค้าโดยทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลาง  นำส่งสินค้าเข้า-ออก ตามท้อง
ถิ่นต่าง ๆ
ในส่วนที่เป็นรายรับ - รายจ่ายของแผ่นดินนั้น   กล่าวได้ว่ารายรับไม่สมดุลกับ
รายจ่าย  รายจ่ายส่วนใหญ่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นไปเพื่อการสร้างและบูรณะ
บ้านเมือง  รายจ่ายในการป้องกันประเทศการบำรุงศาสนานอกจากนี้ก็ยังมีรายจ่ายเบี้ย
หวัดข้าราชการและค่าใช้จ่ายภายในราชสำนักรายจ่ายตามประเภทที่กล่าวมาข้างต้นนั้น
นับว่ามีจำนวนสูง    เพราะบ้านเมืองเพิ่งอยู่ในระยะก่อร่างสร้างตัวซ้ำยังมีศึกสงครามอยู่
เกือบตลอดเวลารายจ่ายที่เพิ่มมากขึ้นนั้นเมื่อเทียบกับรายได้ของแผ่นดินซึ่งยังคงมีที่มา
เหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี จึงเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองต้องแสวงหายรายได้ให้
เพิ่มมากขึ้น
รายได้ของรัฐบาลในสมัยต้นรัตนโกสินทร์จำแนกได้ดังนี้ 
1. ส่วย  คือ  เงินหรือสิ่งของที่ไพร่เอามาเสียภาษีแทนแรงงานถ้า ไม่ต้องการชำระ
เป็นเงิน  ก็อาจจะทดแทนด้วยผลิตผลที่มีอยู่ในท้องที่ ๆ  ไพร่ผู้นั้นอาศัยอยู่เช่นดีบุกดิน
ประสิว  นอกจากนี้ส่วยยังเรียกเก็บจากหัวเมืองต่าง ๆ และบรรดาประเทศราช
2. ฤชา  คือ  การเสียค่าธรรมเนียมที่ประชาชนจ่ายเป็นค่าตอบแทนการบริการ
ของรัฐบาล  รัฐบาลจะกำหนดเรียกเก็บเป็นอย่าง ๆ ไป   เช่น   ค่าธรรมเนียมโรงศาล
ค่าธรรมเนียมการออกโฉนด หรือค่าธรรมเนียมกรรมสิทธิ์ เป็นต้น
3. อากร  คือ  เงินที่พ่อค้าเสียให้แก่รัฐบาลในการขอผูกขาดสัมปทาน เช่น การจับ
ปลา การเก็บของป่าต้มกลั่นสุรา และตั้งบ่อนการพนัน เป็นต้น ส่วนอีกประเภทหนึ่ง  คือ
การเรียกเก็บผลประโยชน์ที่ราษฎรทำได้จากการประกอบการต่างๆเช่น ทำนาทำไร่ การ
เก็บอากร ค่านา ในสมัยรัชกาลที่ 2 กำหนดให้ราษฎรเลือกส่งได้ 2 รูปแบบ คือ  ส่งเป็น
ผลิตผลหรือตัวเงิน เช่น ถ้าส่งเป็นเงินให้ส่งไร่ละหนึ่งสลึง อากรประเภทอื่นยังมีอีก  เช่น
อากรสวน อากรตลาด เป็นต้น
4. ภาษีอากรและจังกอบภาษีอากรหมายถึงการเก็บภาษีจากสินค้าเข้าและสินค้า
ออก ภาษีเข้ามีอัตราการเก็บที่ไม่แน่นอนประเทศใดที่มีสัมพันธไมตรีดีต่อไทยก็จะเก็บ
ภาษีน้อยกว่าเรือของประเทศที่ไปมาค้าขายเป็นครั้งคราวหาก  แต่ในสมัยรัชกาลที่  2
อัตราที่กำหนดให้เก็บคือร้อยละ8โดยตลอดส่วนชาวจีนนั้นให้คิดอัตราร้อยละ  4 ส่วน
ภาษีสินค้าออกเก็บในอัตราที่แตกต่างไปตามชนิดของสินค้า
จังกอบ คือค่าผ่านด่านซึ่งเรียกเก็บจากสินค้าและขนาดของพาหนะที่บรรทุก
ด่านที่เก็บจังกอบเรียกว่าขนอนหรือด่านภาษีการเก็บจังกอบมี 2 ประเภทคือประเภท
แรกเป็นการเก็บค่าผ่านด่านขนอนทั้งทางบกและทางน้ำ    เรียกเก็บจากสินค้าค้าของ
ราษฏรโดยชักสินค้านั้นเป็นส่วนลดอีกประเภทหนึ่งคือ  เก็บตามอัตราขนาดของยาน
พาหนะที่ขนสินค้าผ่านด่าน โดยจะวัดตามความกว้างของปากเรือ เรียกว่า"ค่าปากเรือ"
ในสมัยรัตนโกสินทร์นี้แม้เศรษฐกิจหลักของสังคมจะเป็นไปแบบเดิมคือ  การ
เกษตรกรรม โดยอาศัยธรรมชาติ   แต่ทางราชการก็พยายามสนับสนุนช่วยเหลือใน
การชลประทานการค้ากับต่างประเทศก็ดำเนินเป็นล่ำเป็นสันขึ้นกว่าในสมัยก่อน
เพราะไทยมีสินค้าออกคือ ผลิตผลทางการเกษตร     ซึ่งเป็นที่ต้องการของประเทศ
ทางตะวันตก

การเมืองการปกครองของไทยปัจจุบัน


      ประเทศไทยมีการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
                ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
                    1. ทรงเป็นประมุขของประเทศ
                    2. เป็นจอมทัพไทย
                    3. เป็นที่เคารพสักการะของชาวไทย
                พระราชอำนาจของกษัตริย์ไทย
                    1. ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา
                    2. ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี
                    3. ทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล
            พระมหากษัตริย์จะทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาและ
นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการทุกครั้ง ศาลจะเป็นผู้พิจารณาคดีในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ พระราชอำนาจในการเลือกและแต่งตั้งประธานองคมนตรีและองคมนตรี ประธานรัฐสภาจะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในการแต่งตั้ง และประธานองคมนตรีจะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง องคมนตรีคนต่อไป
             หน้าที่ขององคมนตรี ถวายคำปรึกษาและความเห็นในพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์

อำนาจอธิปไตยและการใช้อำนาจ 
     อำนาจนิติบัญญัติ คือ อำนาจสูงสุดในการออกกฎหมายโดยสถาบันรัฐสภา ในรัฐสภามี 2 สภา คือ
            1. สภาผู้แทนราษฎร มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ในอัตราส่วน 1 : 150,000 มีวาระ 4 ปี
            2. วุฒิสภา มาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์ มีสมาชิก 2 ใน 3 ของสภาผู้แทนราษฎร มีวาระ 4 ปี
          หน้าที่ของรัฐสภา
                1. ทำหน้าที่ออกกฎหมาย
                2. ทำหน้าที่คัดเลือกรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศ
                3. รัฐสภาควบคุมการปฏิบัติงานของรัฐบาล
                4.วุฒิสภาหรือวุฒิสมาชิกทำหน้าที่กลั่นกรองพิจารณาร่างกฎหมาย
              บทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส.
                1. เลือกคณะรัฐบาลเพื่อบริหารงาน
                2. เป็นสื่อกลางระหว่างรัฐบาลกับประชาชน
                3. ร่วมกันเสนอแนะ ปรับปรุงและรักษาการปกครองแบบประชาธิปไตยในสังคมให้ดีขึ้น
                4. ร่วมกันตรากฎหมาย แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ข้อบังคับของสภา
                5. ควบคุมการทำงานของรัฐบาล
                6. อนุมัติงบประมาณของแผ่นดิน
     อำนาจบริหาร คือ อำนาจในการนำกฎหมายไปบังคับใช้หรือบริหารประเทศโดยรัฐบาล
          อำนาจและหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี
                1.ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ว่าจะปฏิบัติ หน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
                2. อุทิศเวลาให้แก่การบริหารราชการแผ่นดิน
                3. รับผิดชอบร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร
                4. มิสิทธิเข้าประชุมสภาผู้แทนราษฎร
                5. มีสิทธิขอให้รัฐสภาเปิดอภิปรายทั่วไป
                6. มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติ
                7. มีอำนาจขอกราบบังคมทูลให้ยุบสภาผู้แทนราษฎร
                8.มีอำนาจกราบบังคมทูลแต่งตั้งหรือถอดถอนข้าราชการฝ่ายทหาร พลเรือน ปลัด กระทรวง อธิบดี
                9. มีอำนาจกราบบังคมทูลขอให้พระมหากษัตริย์ ประกาศกฎอัยการศึก และพระราชทานอภัยโทษแก่นักโทษได้
     อำนาจตุลาการ คือ อำนาจในการตัดสินคดี โดยสถาบันศาล ซึ่งศาลแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ศาลชั้นต้น ศาล อุทธรณ์ และศาลฎีกา
ผู้พิพากษาและตุลาการ มีอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย
-คณะกรรมการตุลาการ มีหน้าที่แต่งตั้ง โยกย้าย ถอดถอน เลื่อนตำแหน่ง เลือนเงินเดือน การลงโทษทั้งทางวินัยแก่ข้าราชการตุลาการ
- คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่วินิจฉัยว่าบทบัญญัติของกฎหมายอื่นใดขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถ้าขัดแย้งกฎหมายนั้นจะนำมาบังคับใช้ไม่ได้   และพิจารณาคุณสมบัติของ ส.ส. วุฒิสภาและรัฐมนตรี การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

1. การบริหารราชการส่วนกลาง ประกอบด้วย
     - สำนักนายกรัฐมนตรี
     - กระทรวง
     - ทบวง
     - กรม
2. การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย
     - จังหวัด
     - อำเภอ
3. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย
     - องค์การบริหารส่วนจังหวัด
     - เทศบาล
     - สุขาภิบาล
     - กรุงเทพมหานคร
     - เมืองพัทยา
     - องค์การบริหารส่วนตำบล

         พรรคการเมือง การปกครองของประเทศไทย มีพรรคการเมืองหลายพรรค ทำให้เกิดรัฐบาลผสม
          การเลือกตั้ง กระบวนการในการเลือกตั้งของประเทศไทย มีลักษณะเป็นแบบผสม ทั้งแบบแบ่งเขตและแบบรวมเขต คือ
จังหวัดใดที่มีผู้แทนได้เกิน 3 คน ใช้วิธีการแบ่งเขต แต่จังหวัดใดที่มีผู้แทนได้ไม่เกิน 3 คน จะใช้แบบวิธีรวมเขต